fbpx

pawncp

About Paul

This author has not yet filled in any details.
So far Paul has created 12 blog entries.

10 สาเหตุ ทำไมสีที่พิมพ์ไม่ตรงกับสีในไฟล์ ไม่เหมือนกับงานที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์

หลายครั้งเราจะพบว่า งานที่พิมพ์เสร็จออกมาแล้ว มีสีที่ไม่ตรงกับในไฟล์ที่ทำเอาไว้ หรือที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์นะครับ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สีเพี้ยน สีไม่ตรงนี้มีได้หลายสาเหตุด้วยกัน ตั้งแต่ปัจจัยในด้านโรงพิมพ์เอง เช่นเครื่องพิมพ์ คุณภาพช่างพิมพ์ ไปจนถึงปัจจัยจากทางลูกค้าเอง ซึ่งวันนี้ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จะมาไขข้อสงสัยว่า ถ้านับเฉพาะในมุมมองของลูกค้า ลูกค้าสามารถที่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อควบคุมสีออกมาให้ตรงใจที่สุด และลดปัญหาความเพี้ยนสีให้ได้มากที่สุดจากการเตรียมไฟล์สำหรับพิมพ์ 1. ระบบสี RGB vs CMYK ปัญหาคลาสสิคที่สุดที่โรงพิมพ์ทุกโรงเคยเจอก็คือ ปัญหาลูกค้าทำงานมาในระบบสี RGB แทนที่จะเป็น CMYK ซึ่งถ้าจะให้อธิบายเรื่องนี้แบบสั้น ๆ ก็คือ ระบบสีทั้งสองระบบนี้ ไม่เหมือนกัน และไม่มีวันทดแทนกันได้นะครับ ไม่มีทางที่สี RGB จะปรับให้เหมือน CMYK ได้ อาจจะทำให้ดูใกล้เคียงกันได้ในบางสี แต่ในบางสีจะแตกต่างกันคนละเรื่อง [...]

2021-03-04T04:40:16+07:00มีนาคม 4th, 2021|

ระบบสี แพนโทน PANTONE คืออะไร ต่างจากระบบสี CMYK อย่างไร เลือกสีแพนโทน PANTONE ยังไงถึงจะเที่ยงตรงที่สุด

หลาย ๆ คนที่ทำงานด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม หรือเป็นผู้ที่จะต้องมีเหตุให้เลือกสีมาใช้งาน เช่น ผสมสีทาบ้าน สีผ้าเพื่อมาตัดเย็บ สีบนหน้าเว็บไซต์ รวมถึงไปสึที่ใช้ในงานพิมพ์ คงจะเคยได้ยินว่าสีแพนโทนเบอร์ xxx กันมาบ้างนะครับ  แต่ลึก ๆ แล้วก็ไม่ได้เข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร  ทำไมหลาย ๆ โรงพิมพ์ถึงมีปัญหากับสี PANTONE ซึ่งอันดับแรกสุดเลยต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า สี PANTONE ไม่ใช่สี CMYK และสี CMYK ก็ไม่ใช่ PANTONE ทั้งสองอย่างเป็นระบบสีคนละระบบกัน สามารถเทียบเคียงกันได้ แต่ใช้ทดแทนกันตรง ๆ ไม่ได้ แล้วจะมีวิธีอย่างไรให้สามารถทำงานพิมพ์ด้วยระบบสีแพนโทนได้ ซึ่งวันนี้ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จะมาเล่าให้ฟังว่าระบบสีของแพนโทนมันเป็นอะไร ทำงานยังไงกันแน่ครับ [...]

2021-03-02T02:15:28+07:00กุมภาพันธ์ 25th, 2021|

การออก Package ใน InDesign เพื่อส่งงานให้โรงพิมพ์

วันนี้ทางโรงพิมพ์จะมาแนะนำวิธีที่ใช้ส่งไฟล์งานให้กับโรงพิมพ์นะคะ โดยเฉพาะไฟล์งานที่ออกแบบจัดทำโดยโปรแกรม Adobe InDesign โดยเฉพาะ InDesign เป็นโปรแกรมที่เอาไว้ทำงานประเภท Desktop Publishing ที่นิยมเอาไว้จัดทำงานพิมพ์ส่งโรงพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีหลายหน้า มีผู้ออกแบบหลายคนเช่นงานหนังสือ เพราะมีฟังชั่นที่ช่วยในการจัดการหน้าหนังสือหลาย ๆ หน้าพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากโปรแกรมออกแบบประเภท Illustrator อยู่มากค่ะ ลองนึกภาพว่าถ้าหนังสือมี 300 หน้า แล้วต้องการจะแก้ฟอนต์ตรงเลขหน้าทุกหน้า จะทำอย่างไรใน Illustrator แค่นี้ก็ยากแล้วนะคะ แต่ InDesign จะมีเครื่องมือเช่น Master Page เข้ามาช่วยจัดการ เพียงแค่คลิกเดียวก็สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขทั้ง 300 หน้าได้แล้วค่ะ ดังนั้น ลูกค้าทุกท่านควรจะเริ่มใช้โปรแกรมให้เหมาะสมกับการออกแบบงานแต่ละประเภทด้วยนะคะ ทีนี้ เมื่อเราใช้ InDesign [...]

2021-02-25T01:05:15+07:00กันยายน 29th, 2019|

11 เช็คลิสต์ ข้อควรระวังสำหรับการทำงานส่งโรงพิมพ์

การออกแบบสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สำหรับส่งโรงพิมพ์นั้น อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยทำมาก่อน เพราะจะมีรายละเอียดที่ยิบย่อยอยู่มากพอสมควร หลายครั้งที่โรงพิมพ์รับไฟล์ต้นฉบับจากลูกค้ามาแล้วพบว่ามีปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่จะมีอยู่กลุ่มหนึ่งที่พบได้บ่อย วันนี้โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จึงทำเช็คลิสต์สำหรับลูกค้าทุกท่าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจงานเบื้องต้น โรงพิมพ์แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่า ลูกค้าควรใช้เช็คลิสต์นี้ ตรวจงานก่อนส่งงานให้กับโรงพิมพ์ทุกครั้ง จะทำให้งานที่มาถึงโรงพิมพ์แล้ว เข้าสู่กระบวนการพิมพ์ได้เร็วขึ้น งานก็จะเสร็จเร็วขึ้นตามไปด้วยครับ เช็คลิสต์ที่ว่านี้มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันครับ สำหรับลูกค้าที่ต้องการพิมพ์เช็คลิสต์ไปใช้งาน  สามารถดาวโหลด Checklists ได้ที่นี่ 1. ขนาดงาน ควรเซ็ตหน้างานให้ตรงกับขนาดที่ตกลงกันไว้กับโรงพิมพ์ตามใบเสนอราคา หรือติดต่อสอบถามทางโรงพิมพ์ก่อนทุกครั้งหากไม่แน่ใจ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คส์ขนาด A5 ในขณะที่ขนาด A5 ตามมาตรฐาน ISO จะเป็น 148 x [...]

2021-02-25T01:13:28+07:00กันยายน 25th, 2018|

วิธีการนับจำนวนหน้าสีและขาวดำ ควรเรียงหน้า 4 สี / 2 สี / 1 สี อย่างไรให้คุ้มค่าพิมพ์ที่สุด

วันนี้ทางโรงพิมพ์จะมาแนะนำเกี่ยวกับการนับหน้าและการจัดวางหน้า ว่าจริง ๆ แล้วในทางการพิมพ์เค้านับหน้ากันอย่างไรนะครับ แล้วทำไมหลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้าขอราคากับโรงพิมพ์ไป แต่พอเวลาส่งต้นฉบับไปแล้ว ทางโรงพิมพ์แจ้งกลับมาว่าจำนวนหน้าสี่สี สองสี หรือสีสปอต ไม่ถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่ลูกค้าก็นั่งนับเองกับมือ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกับโรงพิมพ์ไปซะอีก วันนี้โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จะมาอธิบายให้ฟังบางส่วนคร่าว ๆ เฉพาะที่เข้าใจง่าย ๆ นะครับ เพราะถ้าเจาะลึกจริง ๆ แล้วจะมีความซับซ้อนกว่านั้นอีกมาก โดยทั่วไป เวลาลูกค้าแจ้งสเป็คงานกับทางโรงพิมพ์เพื่อขอราคา ก็มักจะคำนวณคร่าว ๆ หรือนับคร่าว ๆ เอาจากต้นฉบับที่มีอยู่ว่ามีกี่หน้าใช่มั้ยครับ โดยมากก็จะกำหนดกันเอาเองตามใจฉันว่าอยากจะให้ตรงไหนเป็นสี ตรงไหนเป็นขาวดำ ถ้าเป็นงานพิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม หรือขาวดำทั้งเล่ม [...]

2021-02-25T01:04:11+07:00มกราคม 5th, 2018|

การขอเลข ISBN การขอข้อมูลทางบรรณานุกรม CIP และการทำบาร์โค้ด (Barcode)

ทางโรงพิมพ์สามารถจัดทำเลขทะเบียนประจำหนังสือ ISBN และข้อมูลทางบรรณานุกรม (CIP)  พร้อมจัดทำบาร์โค้ดสำหรับอ่าน-บันทึกข้อมูลสำหรับคลังสินค้า สายส่ง ร้านค้าปลีก ให้ได้ครับ ISBN คืออะไร จำเป็นต้องมีหรือเปล่า เลข ISBN (International Standard Book Number) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ คือรหัสที่กำหนดให้ใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ เพื่อใช้ในการแยกแยะหนังสือแต่ละเรื่องออกจากกันนะครับ แล้วยังนำไปใช้อำนวนความสะดวกในกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ เริ่มตั้งแต่นำเข้าคลังสินค้าตามร้านหนังสือ ไปจนถึงการขายที่หน้าร้านเลยนะครับ โดยรหัสที่ใช้ในประเทศไทยจะเป็น Code EAN 13 หลัก โดย 3 หลักแรกจะเหมือนกันทั้งหมดทั้งประเทศ เพราะเป็นรหัสระบุว่าเป็นหนังสือจากประเทศไทย นั่นก็คือ 978 ส่วนรหัสหลักสุดท้ายจะเป็นรหัส checksum เอาไว้ตรวจทานรหัสในชุดอีกทีหนึ่ง [...]

2021-02-25T00:43:18+07:00ตุลาคม 24th, 2017|

10 อันดับ เช็คลิสต์สำหรับการทำปกหนังสือส่งโรงพิมพ์

ปกหนังสือคือหน้าตาที่เห็นเป็นอันดับแรก ว่ากันว่าคนจะหยิบหนังสือหรือไม่ก็วัดกันที่หน้าปกนี่ล่ะ การออกแบบหน้าปกที่ดี ควรต้องคำนึงถึงว่าเมื่อผลิตเป็นงานจริงแล้วหน้าตาจะเป็นอย่างไร ลูกค้าสามารถหยิบหนังสือเล่มใด ๆ ก็ได้ที่ใกล้เคียงกับงานที่ทำอยู่จากชั้นหนังสือมาพิจารณาแล้วลองนึกภาพดูว่า ถ้างานที่เราออกแบบมานั้น ถูกผลิตจริงเป็นหนังสือแบบที่เห็นในมือ จะมีหน้าตาอย่างไร ควรจะเว้นระยะห่างตรงไหน อย่างไรบ้าง จะช่วยได้เยอะครับ แต่สำหรับโรงพิมพ์แล้ว เราก็มักจะพบกับข้อผิดพลาดที่ลูกค้ามักจะทำพลาดมากันบ่อย ๆ ลองมาดูกันว่า 10 เช็คลิตส์ที่ลูกค้าควรเช็คงานให้ดีก่อนปล่อยพิมพ์มีอะไรบ้าง ทั้งนี้ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. ก็จะใช้เช็คลิตส์เหล่านี้ในการตรวจงานเหมือนกันครับ สำหรับลูกค้าที่ต้องการพิมพ์เช็คลิสต์ไปใช้งาน  สามารถดาวโหลดเช็คลิสต์ได้ที่นี่ 1. ขนาดงาน ควรเซ็ตหน้างานให้ตรงกับขนาดที่ตกลงกันไว้กับโรงพิมพ์ตามใบเสนอราคา หรือติดต่อสอบถามก่อนทุกครั้งหากไม่แน่ใจ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คส์ขนาด A5 ในขณะที่ขนาด A5 ตามมาตรฐาน ISO จะเป็น 148 x 210 [...]

2021-02-25T00:51:03+07:00ตุลาคม 6th, 2017|

ทำไฟล์งาน 2 สีส่งโรงพิมพ์ เช็คอย่างไรว่าทำมาเป็น 2 สีจริง

หนึ่งในปัญหาที่โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. พบได้บ่อยที่สุดในการพิมพ์งาน 2 สีคือ ลูกค้าส่งไฟล์งาน 4 สีมาให้ครับ โดยเข้าใจว่าสีที่เห็นบนหน้าจอนั้นก็ดูมี 2 สีปกติ แต่ทำไมโรงพิมพ์ถึงบอกว่าเป็นไฟล์ 4 สีไปได้ หลาย ๆ ครั้งภาพหรือกราฟฟิคดูเป็นสีเทาด้วยซ้ำ ทำไมโรงพิมพ์ถึงยังบอกว่าเป็นภาพ 4 สี วันนี้โรงพิมพ์มีเทคนิคแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการตรวจไฟล์งานมาให้ครับ หน้างาน 2 สีที่ลูกค้าส่งมา ตรวจจากไฟล์ PDF ลูกค้าสามารถตรวจไฟล์จาก PDF ได้โดยตรง โดยใช้ Tools ที่ชื่อว่า Output [...]

2021-02-25T03:02:06+07:00ตุลาคม 4th, 2017|

ดำ 4 เม็ด (Rich Black) vs ดำเดี่ยว (K100) คืออะไร ควรใช้ดำแบบไหน กับงานประเภทไหน

การพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ตคือการพิมพ์ด้วยระบบสี CYMK หมายความว่าภาพที่เกิดจากการพิมพ์นั้น เกิดจากการซ้อนทับกันของแม่สีเพียง 4 สีเท่านั้น (ฟ้า เหลือง ชมพูแดง ดำ) ซึ่งการผสมแม่สีทั้ง 4 นี้สามารถก่อให้เกิดสีอื่น ๆ ได้นับล้านสีรวมถึงเฉดสีดำด้วยครับ ดังนั้นการที่เราเลือกสีดำมาใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Adobe Illustrator นั้น สีที่เห็นอาจจะดูว่าเป็นสีดำก็จริง แต่จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่สีดำเสมอไปครับ สำหรับโรงพิมพ์แล้ว เวลาพูดถึงสีดำจะหมายถึงสีดำเดี่ยว ๆ 100% (K100) ครับ การพิมพ์ 4 สีในระบบออฟเซ็ต เพราะสำหรับการพิมพ์สีดำในระบบออฟเซ็ตนั้น สามารถทำได้ 2 [...]

2021-02-25T01:40:00+07:00กันยายน 29th, 2017|

จะรู้ได้อย่างไรว่าภาพที่จะใช้พิมพ์ ชัดหรือไม่ชัด ?

เวลาเราเอาภาพถ่ายจากกล้อง  ไม่ว่าจะถ่ายด้วยกล้องมือถือ  หรือกล้อง DSLR มาใช้งาน  หรือบางทีดาวโหลดภาพประกอบมาจากอินเตอร์เนท  เพื่อมาใช้ในงานออกแบบ  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าภาพนี้เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว  ชัดหรือไม่ชัด  วันนี้โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. มีคำตอบครับ วิธีเช็คงานง่าย ๆ คือ  เมื่อออกแบบงานเสร็จแล้ว  ไม่ว่าลูกค้าจะออกแบบออกมาเป็นไฟล์อะไร (PDF / JPEG / PSD / AI) ให้กดซูมดูที่ 300% ครับ ภาพที่ปรากฎเมื่อซูมเข้าไป 300% คือภาพที่ใกล้เคียงที่สุดเมื่อพิมพ์ออกมาเป็นงานสำเร็จแล้วครับ  ถ้าลูกค้ามีความรู้สึกว่าซูมดูแล้ว  ภาพมันยังไม่ค่อยชัด  ก็หมายความว่าภาพนั้นยังมีความละเอียดไม่พอครับ  โดยมากมักจะเห็นภาพแตกเป็นพิกเซลอย่างชัดเจน  ยิ่งเมื่อนำไปเทียบกับภาพที่คมชัด  จะสามารถเห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่าได้ครับ ทางโรงพิมพ์ทำใบปลิว Mock Up ขึ้นมา [...]

2021-02-25T00:23:22+07:00ธันวาคม 8th, 2016|

วิธีการตั้งระยะตัดตกเผื่อเจียนสำหรับหนังสือ งานไดคัท สติ๊กเกอร์ กล่อง ด้วย Adobe Illustrator

การตั้งค่าตัดตก (หรือค่า Bleed) จะแตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรมที่ใช้งานนะครับ  โปรแกรมส่วนใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเพื่องานสิ่งพิมพ์มักจะมีฟังก์ชั่นสำหรับการ set ค่าตัดตกนี้ไว้อยู่แล้ว  แต่บางโปรแกรมก็ไม่มี  นักออกแบบจะต้องเป็นคนทำเองทั้งหมด  โดยหลัก ๆ โปรแกรมที่เรามักจะใช้งานเพื่อการออกแบบสิ่งพิมพ์ก็มักจะไม่พ้น 3 โปรแกรมหลักจากค่าย Adobe  นั่นก็คือ Illustrator  InDesign และ Photoshop นั่นเองครับ  โดยทั้ง Illustrator และ InDesign ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์โดยตรงจะมีฟังก์ชั่นสำหรับ Bleed ไว้อยู่แล้ว  แต่ Photoshop ไม่มี  เพราะเป็นโปรแกรมเอาไว้แต่งภาพมากกว่าที่จะมาทำสิ่งพิมพ์ครับ  ซึ่งในบทความนี้  จะมาว่าถึงวิธีการตั้งระยะตัดตกสำหรับหนังสือ งานไดคัท สติ๊กเกอร์ กล่องบรรจุภัณฑ์  หรืองานที่ซับซ้อนอื่น ๆ [...]

2021-02-25T00:20:12+07:00ธันวาคม 7th, 2016|

ตัดตก เผื่อเจียน (Bleed) คืออะไร สำคัญอย่างไรทำไมต้องมี

โรงพิมพ์พบว่าหลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้าทำงานส่งโรงพิมพ์มานั้น ไม่ได้ทำตัดตกมาให้ด้วย ซึ่งทำให้โรงพิมพ์ต้องแจ้งกลับลูกค้าเพื่อกลับไปแก้ไขอีกรอบ ทำให้เป็นการเสียทั้งแรงและเวลาของลูกค้าไปนะครับ ซึ่งถ้าก่อนจะเริ่มออกแบบงานทุกงาน เราเตรียมตั้งค่าพื้นที่ตัดตกไว้ ก็จะเป็นการประหยัดเวลาไปได้เยอะ ไม่ต้องกลับมาแก้ไขงานทีหลัง เพราะยังไงพื้นที่ตัดตก เผื่อเจียนนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ไม่มีไม่ได้เด็ดขาด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในกระบวนการพิมพ์ก่อนเล็กน้อยว่าจริง ๆ แล้วเวลาโรงพิมพ์ พิมพ์งานออกมาไม่ได้เป็นขนาดสำเร็จรูปนะครับ แต่จะมีขอบกระดาษเพื่อเอาไว้ให้กริปเปอร์เครื่องพิมพ์จับกระดาษเวลาทำงาน รวมไปถึงไกด์สีและข้อมูลอื่น ๆ สำหรับช่างพิมพ์ ดังนั้น พิมพ์งานเสร็จแล้ว จะส่งให้ลูกค้า ก็จะต้องมีการตัดขอบกระดาษส่วนนี้ทิ้งไป การตัดแบบนี้จะทำให้งานที่ออกมา มีขอบเรียบเสมอกัน มีขนาดเท่ากันทุก ๆ เล่มที่พิมพ์ครับ ภาพที่ 1 : ตัวอย่างงานโปสเตอร์ที่กำลังขึ้นแท่นตัด  เพื่อตัดขอบกระดาษส่วนเกินทิ้ง   จะสังเกตเห็นได้ว่า  ขนาดกระดาษก็ไม่ได้เท่ากันทุกแผ่น เมื่อทำการตัดกระดาษแล้ว [...]

2021-02-25T02:09:35+07:00ธันวาคม 4th, 2016|