ทางโรงพิมพ์สามารถจัดทำเลขทะเบียนประจำหนังสือ ISBN และข้อมูลทางบรรณานุกรม (CIP)  พร้อมจัดทำบาร์โค้ดสำหรับอ่าน-บันทึกข้อมูลสำหรับคลังสินค้า สายส่ง ร้านค้าปลีก ให้ได้ครับ

ISBN คืออะไร จำเป็นต้องมีหรือเปล่า

เลข ISBN (International Standard Book Number) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ คือรหัสที่กำหนดให้ใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ เพื่อใช้ในการแยกแยะหนังสือแต่ละเรื่องออกจากกันนะครับ แล้วยังนำไปใช้อำนวนความสะดวกในกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ เริ่มตั้งแต่นำเข้าคลังสินค้าตามร้านหนังสือ ไปจนถึงการขายที่หน้าร้านเลยนะครับ โดยรหัสที่ใช้ในประเทศไทยจะเป็น Code EAN 13 หลัก โดย 3 หลักแรกจะเหมือนกันทั้งหมดทั้งประเทศ เพราะเป็นรหัสระบุว่าเป็นหนังสือจากประเทศไทย นั่นก็คือ 978 ส่วนรหัสหลักสุดท้ายจะเป็นรหัส checksum เอาไว้ตรวจทานรหัสในชุดอีกทีหนึ่ง

ตัวอย่าง ISBN และ Barcode

ตัวอย่าง ISBN และ Barcode

หากสงสัยว่าแล้วหนังสือที่เรากำลังจะพิมพ์ จำเป็นต้องมีเลข ISBN หรือไม่อย่างไร ง่าย ๆ เลยก็คือถ้าเรามีแผนที่จะวางขายในร้านหนังสือ หรือต้องการให้หนังสือเข้าระบบการขายที่ใช้ barcode ในการตรวจนับสินค้า ก็จำเป็นต้องมีเลข ISBN ครับ แต่หากเป็นหนังสือที่ไม่ได้เข้าระบบการขายตามร้านหนังสือทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหนังสือใช้งานในองค์กร หรือวางแผนจะทำการขายด้วยตัวเอง ก็ไม่ต้องมีก็ได้ครับ

CIP คืออะไร จำเป็นต้องมีหรือเปล่า

CIP (Cataloging in Publication) หรือภาษาไทยคือ ข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสือ  CIP  คือการกำหนดข้อมูลรายละเอียดทางบรรณานุกรมตามหลักเกณฑ์ในการทำบัตรรายการ เลขหมู่หนังสือ หัวเรื่อง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการค้นคว้าหรือค้นหาในห้องสมุด โดยปกติบรรณารักษ์ตามห้องสมุดต่าง ๆ จะใช้เลขหมวดเหล่านี้จัดหนังสือขึ้นชั้นในห้องสมุดครับ ถ้าถามว่าแล้วหนังสือที่จะพิมพ์ จำเป็นต้องมีเลข CIP รึเปล่า ถ้าเรามีแผนที่จะนำหนังสือเข้าไปใช้งานในห้องสมุด ก็ควรจะมีไว้ครับ เพื่ออำนวยความสะดวกให้บรรณารักษ์ แต่ถ้าดูแล้ว หนังสือของเราไม่ได้ตั้งใจจะให้บรรจุเข้าไปอยู่ในห้องสมุดแน่ ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ครับ

ตัวอย่างหน้าเครดิตและ CIP

ตัวอย่างหน้าเครดิตและ CIP

บริการขอเลข ISBN และ CIP

ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. สามารถอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการขอเลข ISBN และข้อมูล CIP ได้ แต่ลูกค้าจะต้องเตรียมข้อมูลเบื้องต้นในการจดเลข ISBN ให้ทางโรงพิมพ์ด้วย โดยกรอกแบบฟอร์มจากไฟล์นี้แล้วส่งให้โรงพิมพ์ทางอีเมล์ [email protected] และ [email protected] ครับ

Download : แบบฟอร์มข้อมูลการขอเลขรหัส ISBN

การทำบาร์โค้ด Barcode

เมื่อได้เลข ISBN มาแล้ว ก็ต้องนำ ISBN ที่ได้มาทำเป็น Barcode เพื่อที่จะใช้ในการสแกนตามร้านค้า ซึ่งในขั้นตอนนี้ ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. มีบริการทำ Barcode ให้ด้วยโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดครับ โดยจะรับทำบาร์โค้ดให้เฉพาะเลข ISBN ในระบบ EAN 13 หลักเท่านั้น barcode ที่เป็นผลิตภัณฑ์สินค้าอื่น ๆ หรืออยู่ในรหัสชุดอื่น ทางโรงพิมพ์จะทำให้ไม่ได้ครับ

ตัวอย่าง Barcode

ตัวอย่าง Barcode

คำแนะนำสำหรับการทำบาร์โค้ด

สำหรับลูกค้าที่ต้องการทำบาร์โค้ดใช้งานเอง ทางโรงพิมพ์มีข้อแนะนำเล็กน้อยดังนี้ครับ
1. บาร์โค้ดต้องทำเป็นดำเดี่ยวมาเท่านั้น ห้ามทำเป็นดำ 4 เม็ดเด็ดขาด (ดำเดี่ยว ดำ 4 เม็ดคืออะไร อ่านได้จากที่นี่)
2. บาร์โค้ดต้องทำให้อยู่ในรูปแบบ Vector เท่านั้น  เพื่อที่จะนำไปใช้งานต่อในโปรแกรมเช่น Adobe Illustrator ได้  ห้ามทำเป็นไฟล์ภาพ JPG, PSD มาโดยเด็ดขาด
3. การย่อหรือขยายบาร์โค้ดสามารถทำได้ แต่ต้องย่อ-ขยายตามสัดส่วนเท่านั้น (Proportional Scaling) ห้ามย่อขยายบาร์โค้ดด้านในด้านหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้สัดส่วนของแท่นบาร์โค้ดผิดเพี้ยนไป และจะสแกนไม่ได้

ข้อควรระวัง !!

ทางโรงพิมพ์ไม่มีเครื่องสแกนบาร์โค้ดไว้ใช้งาน ดังนั้น จึงไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของบาร์โค้ดได้ ดังนั้นหากลูกค้าเป็นผู้ทำไฟล์บาร์โค้ดมาเอง ทางโรงพิมพ์ไม่สามารถรับประกันบาร์โค้ดได้ว่าจะสแกนผ่านหรือไม่ ยกเว้นในกรณีที่โรงพิมพ์ทำบาร์โค้ดรหัส EAN สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือให้กับลูกค้า เพราะโรงพิมพ์ทำมาแล้วเป็นจำนวนมาก จึงมั่นใจว่า barcode ที่เราทำให้นั้นสามารถใช้งานได้ 100%

PostEndIcon