fbpx

Design

แหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบจัดทำอาร์ตเวิร์คเพื่อส่งโรงพิมพ์ เทคนิคการทำหนังสือ โบรชัวร์ นามบัตร สติ๊กเกอร์ แฟ้มกระดาษ กล่องบรรจุภัณฑ์ พิมพ์กล่อง ฯลฯ

10 สาเหตุ ทำไมสีที่พิมพ์ไม่ตรงกับสีในไฟล์ ไม่เหมือนกับงานที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์

หลายครั้งเราจะพบว่า งานที่พิมพ์เสร็จออกมาแล้ว มีสีที่ไม่ตรงกับในไฟล์ที่ทำเอาไว้ หรือที่ออกแบบไว้ในคอมพิวเตอร์นะครับ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สีเพี้ยน สีไม่ตรงนี้มีได้หลายสาเหตุด้วยกัน ตั้งแต่ปัจจัยในด้านโรงพิมพ์เอง เช่นเครื่องพิมพ์ คุณภาพช่างพิมพ์ ไปจนถึงปัจจัยจากทางลูกค้าเอง ซึ่งวันนี้ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จะมาไขข้อสงสัยว่า ถ้านับเฉพาะในมุมมองของลูกค้า ลูกค้าสามารถที่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อควบคุมสีออกมาให้ตรงใจที่สุด และลดปัญหาความเพี้ยนสีให้ได้มากที่สุดจากการเตรียมไฟล์สำหรับพิมพ์ 1. ระบบสี RGB vs CMYK ปัญหาคลาสสิคที่สุดที่โรงพิมพ์ทุกโรงเคยเจอก็คือ ปัญหาลูกค้าทำงานมาในระบบสี RGB แทนที่จะเป็น CMYK ซึ่งถ้าจะให้อธิบายเรื่องนี้แบบสั้น ๆ ก็คือ ระบบสีทั้งสองระบบนี้ ไม่เหมือนกัน และไม่มีวันทดแทนกันได้นะครับ ไม่มีทางที่สี RGB จะปรับให้เหมือน CMYK ได้ อาจจะทำให้ดูใกล้เคียงกันได้ในบางสี แต่ในบางสีจะแตกต่างกันคนละเรื่อง [...]

2021-03-04T04:40:16+07:00มีนาคม 4th, 2021|

ระบบสี แพนโทน PANTONE คืออะไร ต่างจากระบบสี CMYK อย่างไร เลือกสีแพนโทน PANTONE ยังไงถึงจะเที่ยงตรงที่สุด

หลาย ๆ คนที่ทำงานด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม หรือเป็นผู้ที่จะต้องมีเหตุให้เลือกสีมาใช้งาน เช่น ผสมสีทาบ้าน สีผ้าเพื่อมาตัดเย็บ สีบนหน้าเว็บไซต์ รวมถึงไปสึที่ใช้ในงานพิมพ์ คงจะเคยได้ยินว่าสีแพนโทนเบอร์ xxx กันมาบ้างนะครับ  แต่ลึก ๆ แล้วก็ไม่ได้เข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร  ทำไมหลาย ๆ โรงพิมพ์ถึงมีปัญหากับสี PANTONE ซึ่งอันดับแรกสุดเลยต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า สี PANTONE ไม่ใช่สี CMYK และสี CMYK ก็ไม่ใช่ PANTONE ทั้งสองอย่างเป็นระบบสีคนละระบบกัน สามารถเทียบเคียงกันได้ แต่ใช้ทดแทนกันตรง ๆ ไม่ได้ แล้วจะมีวิธีอย่างไรให้สามารถทำงานพิมพ์ด้วยระบบสีแพนโทนได้ ซึ่งวันนี้ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จะมาเล่าให้ฟังว่าระบบสีของแพนโทนมันเป็นอะไร ทำงานยังไงกันแน่ครับ [...]

2021-03-02T02:15:28+07:00กุมภาพันธ์ 25th, 2021|

การออก Package ใน InDesign เพื่อส่งงานให้โรงพิมพ์

วันนี้ทางโรงพิมพ์จะมาแนะนำวิธีที่ใช้ส่งไฟล์งานให้กับโรงพิมพ์นะคะ โดยเฉพาะไฟล์งานที่ออกแบบจัดทำโดยโปรแกรม Adobe InDesign โดยเฉพาะ InDesign เป็นโปรแกรมที่เอาไว้ทำงานประเภท Desktop Publishing ที่นิยมเอาไว้จัดทำงานพิมพ์ส่งโรงพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีหลายหน้า มีผู้ออกแบบหลายคนเช่นงานหนังสือ เพราะมีฟังชั่นที่ช่วยในการจัดการหน้าหนังสือหลาย ๆ หน้าพร้อมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างจากโปรแกรมออกแบบประเภท Illustrator อยู่มากค่ะ ลองนึกภาพว่าถ้าหนังสือมี 300 หน้า แล้วต้องการจะแก้ฟอนต์ตรงเลขหน้าทุกหน้า จะทำอย่างไรใน Illustrator แค่นี้ก็ยากแล้วนะคะ แต่ InDesign จะมีเครื่องมือเช่น Master Page เข้ามาช่วยจัดการ เพียงแค่คลิกเดียวก็สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขทั้ง 300 หน้าได้แล้วค่ะ ดังนั้น ลูกค้าทุกท่านควรจะเริ่มใช้โปรแกรมให้เหมาะสมกับการออกแบบงานแต่ละประเภทด้วยนะคะ ทีนี้ เมื่อเราใช้ InDesign [...]

2021-02-25T01:05:15+07:00กันยายน 29th, 2019|

11 เช็คลิสต์ ข้อควรระวังสำหรับการทำงานส่งโรงพิมพ์

การออกแบบสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ สำหรับส่งโรงพิมพ์นั้น อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่เคยทำมาก่อน เพราะจะมีรายละเอียดที่ยิบย่อยอยู่มากพอสมควร หลายครั้งที่โรงพิมพ์รับไฟล์ต้นฉบับจากลูกค้ามาแล้วพบว่ามีปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่จะมีอยู่กลุ่มหนึ่งที่พบได้บ่อย วันนี้โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จึงทำเช็คลิสต์สำหรับลูกค้าทุกท่าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจงานเบื้องต้น โรงพิมพ์แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่า ลูกค้าควรใช้เช็คลิสต์นี้ ตรวจงานก่อนส่งงานให้กับโรงพิมพ์ทุกครั้ง จะทำให้งานที่มาถึงโรงพิมพ์แล้ว เข้าสู่กระบวนการพิมพ์ได้เร็วขึ้น งานก็จะเสร็จเร็วขึ้นตามไปด้วยครับ เช็คลิสต์ที่ว่านี้มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันครับ สำหรับลูกค้าที่ต้องการพิมพ์เช็คลิสต์ไปใช้งาน  สามารถดาวโหลด Checklists ได้ที่นี่ 1. ขนาดงาน ควรเซ็ตหน้างานให้ตรงกับขนาดที่ตกลงกันไว้กับโรงพิมพ์ตามใบเสนอราคา หรือติดต่อสอบถามทางโรงพิมพ์ก่อนทุกครั้งหากไม่แน่ใจ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คส์ขนาด A5 ในขณะที่ขนาด A5 ตามมาตรฐาน ISO จะเป็น 148 x [...]

2021-02-25T01:13:28+07:00กันยายน 25th, 2018|

วิธีการนับจำนวนหน้าสีและขาวดำ ควรเรียงหน้า 4 สี / 2 สี / 1 สี อย่างไรให้คุ้มค่าพิมพ์ที่สุด

วันนี้ทางโรงพิมพ์จะมาแนะนำเกี่ยวกับการนับหน้าและการจัดวางหน้า ว่าจริง ๆ แล้วในทางการพิมพ์เค้านับหน้ากันอย่างไรนะครับ แล้วทำไมหลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้าขอราคากับโรงพิมพ์ไป แต่พอเวลาส่งต้นฉบับไปแล้ว ทางโรงพิมพ์แจ้งกลับมาว่าจำนวนหน้าสี่สี สองสี หรือสีสปอต ไม่ถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่ลูกค้าก็นั่งนับเองกับมือ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกับโรงพิมพ์ไปซะอีก วันนี้โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จะมาอธิบายให้ฟังบางส่วนคร่าว ๆ เฉพาะที่เข้าใจง่าย ๆ นะครับ เพราะถ้าเจาะลึกจริง ๆ แล้วจะมีความซับซ้อนกว่านั้นอีกมาก โดยทั่วไป เวลาลูกค้าแจ้งสเป็คงานกับทางโรงพิมพ์เพื่อขอราคา ก็มักจะคำนวณคร่าว ๆ หรือนับคร่าว ๆ เอาจากต้นฉบับที่มีอยู่ว่ามีกี่หน้าใช่มั้ยครับ โดยมากก็จะกำหนดกันเอาเองตามใจฉันว่าอยากจะให้ตรงไหนเป็นสี ตรงไหนเป็นขาวดำ ถ้าเป็นงานพิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม หรือขาวดำทั้งเล่ม [...]

2021-02-25T01:04:11+07:00มกราคม 5th, 2018|

การขอเลข ISBN การขอข้อมูลทางบรรณานุกรม CIP และการทำบาร์โค้ด (Barcode)

ทางโรงพิมพ์สามารถจัดทำเลขทะเบียนประจำหนังสือ ISBN และข้อมูลทางบรรณานุกรม (CIP)  พร้อมจัดทำบาร์โค้ดสำหรับอ่าน-บันทึกข้อมูลสำหรับคลังสินค้า สายส่ง ร้านค้าปลีก ให้ได้ครับ ISBN คืออะไร จำเป็นต้องมีหรือเปล่า เลข ISBN (International Standard Book Number) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ คือรหัสที่กำหนดให้ใช้กับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ เพื่อใช้ในการแยกแยะหนังสือแต่ละเรื่องออกจากกันนะครับ แล้วยังนำไปใช้อำนวนความสะดวกในกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ เริ่มตั้งแต่นำเข้าคลังสินค้าตามร้านหนังสือ ไปจนถึงการขายที่หน้าร้านเลยนะครับ โดยรหัสที่ใช้ในประเทศไทยจะเป็น Code EAN 13 หลัก โดย 3 หลักแรกจะเหมือนกันทั้งหมดทั้งประเทศ เพราะเป็นรหัสระบุว่าเป็นหนังสือจากประเทศไทย นั่นก็คือ 978 ส่วนรหัสหลักสุดท้ายจะเป็นรหัส checksum เอาไว้ตรวจทานรหัสในชุดอีกทีหนึ่ง [...]

2021-02-25T00:43:18+07:00ตุลาคม 24th, 2017|

10 อันดับ เช็คลิสต์สำหรับการทำปกหนังสือส่งโรงพิมพ์

ปกหนังสือคือหน้าตาที่เห็นเป็นอันดับแรก ว่ากันว่าคนจะหยิบหนังสือหรือไม่ก็วัดกันที่หน้าปกนี่ล่ะ การออกแบบหน้าปกที่ดี ควรต้องคำนึงถึงว่าเมื่อผลิตเป็นงานจริงแล้วหน้าตาจะเป็นอย่างไร ลูกค้าสามารถหยิบหนังสือเล่มใด ๆ ก็ได้ที่ใกล้เคียงกับงานที่ทำอยู่จากชั้นหนังสือมาพิจารณาแล้วลองนึกภาพดูว่า ถ้างานที่เราออกแบบมานั้น ถูกผลิตจริงเป็นหนังสือแบบที่เห็นในมือ จะมีหน้าตาอย่างไร ควรจะเว้นระยะห่างตรงไหน อย่างไรบ้าง จะช่วยได้เยอะครับ แต่สำหรับโรงพิมพ์แล้ว เราก็มักจะพบกับข้อผิดพลาดที่ลูกค้ามักจะทำพลาดมากันบ่อย ๆ ลองมาดูกันว่า 10 เช็คลิตส์ที่ลูกค้าควรเช็คงานให้ดีก่อนปล่อยพิมพ์มีอะไรบ้าง ทั้งนี้ทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. ก็จะใช้เช็คลิตส์เหล่านี้ในการตรวจงานเหมือนกันครับ สำหรับลูกค้าที่ต้องการพิมพ์เช็คลิสต์ไปใช้งาน  สามารถดาวโหลดเช็คลิสต์ได้ที่นี่ 1. ขนาดงาน ควรเซ็ตหน้างานให้ตรงกับขนาดที่ตกลงกันไว้กับโรงพิมพ์ตามใบเสนอราคา หรือติดต่อสอบถามก่อนทุกครั้งหากไม่แน่ใจ ยกตัวอย่างเช่น หนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คส์ขนาด A5 ในขณะที่ขนาด A5 ตามมาตรฐาน ISO จะเป็น 148 x 210 [...]

2021-02-25T00:51:03+07:00ตุลาคม 6th, 2017|

ทำไฟล์งาน 2 สีส่งโรงพิมพ์ เช็คอย่างไรว่าทำมาเป็น 2 สีจริง

หนึ่งในปัญหาที่โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. พบได้บ่อยที่สุดในการพิมพ์งาน 2 สีคือ ลูกค้าส่งไฟล์งาน 4 สีมาให้ครับ โดยเข้าใจว่าสีที่เห็นบนหน้าจอนั้นก็ดูมี 2 สีปกติ แต่ทำไมโรงพิมพ์ถึงบอกว่าเป็นไฟล์ 4 สีไปได้ หลาย ๆ ครั้งภาพหรือกราฟฟิคดูเป็นสีเทาด้วยซ้ำ ทำไมโรงพิมพ์ถึงยังบอกว่าเป็นภาพ 4 สี วันนี้โรงพิมพ์มีเทคนิคแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการตรวจไฟล์งานมาให้ครับ หน้างาน 2 สีที่ลูกค้าส่งมา ตรวจจากไฟล์ PDF ลูกค้าสามารถตรวจไฟล์จาก PDF ได้โดยตรง โดยใช้ Tools ที่ชื่อว่า Output [...]

2021-02-25T03:02:06+07:00ตุลาคม 4th, 2017|

ดำ 4 เม็ด (Rich Black) vs ดำเดี่ยว (K100) คืออะไร ควรใช้ดำแบบไหน กับงานประเภทไหน

การพิมพ์ด้วยระบบออฟเซ็ตคือการพิมพ์ด้วยระบบสี CYMK หมายความว่าภาพที่เกิดจากการพิมพ์นั้น เกิดจากการซ้อนทับกันของแม่สีเพียง 4 สีเท่านั้น (ฟ้า เหลือง ชมพูแดง ดำ) ซึ่งการผสมแม่สีทั้ง 4 นี้สามารถก่อให้เกิดสีอื่น ๆ ได้นับล้านสีรวมถึงเฉดสีดำด้วยครับ ดังนั้นการที่เราเลือกสีดำมาใช้ในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Adobe Illustrator นั้น สีที่เห็นอาจจะดูว่าเป็นสีดำก็จริง แต่จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่สีดำเสมอไปครับ สำหรับโรงพิมพ์แล้ว เวลาพูดถึงสีดำจะหมายถึงสีดำเดี่ยว ๆ 100% (K100) ครับ การพิมพ์ 4 สีในระบบออฟเซ็ต เพราะสำหรับการพิมพ์สีดำในระบบออฟเซ็ตนั้น สามารถทำได้ 2 [...]

2021-02-25T01:40:00+07:00กันยายน 29th, 2017|

จะรู้ได้อย่างไรว่าภาพที่จะใช้พิมพ์ ชัดหรือไม่ชัด ?

เวลาเราเอาภาพถ่ายจากกล้อง  ไม่ว่าจะถ่ายด้วยกล้องมือถือ  หรือกล้อง DSLR มาใช้งาน  หรือบางทีดาวโหลดภาพประกอบมาจากอินเตอร์เนท  เพื่อมาใช้ในงานออกแบบ  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าภาพนี้เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว  ชัดหรือไม่ชัด  วันนี้โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. มีคำตอบครับ วิธีเช็คงานง่าย ๆ คือ  เมื่อออกแบบงานเสร็จแล้ว  ไม่ว่าลูกค้าจะออกแบบออกมาเป็นไฟล์อะไร (PDF / JPEG / PSD / AI) ให้กดซูมดูที่ 300% ครับ ภาพที่ปรากฎเมื่อซูมเข้าไป 300% คือภาพที่ใกล้เคียงที่สุดเมื่อพิมพ์ออกมาเป็นงานสำเร็จแล้วครับ  ถ้าลูกค้ามีความรู้สึกว่าซูมดูแล้ว  ภาพมันยังไม่ค่อยชัด  ก็หมายความว่าภาพนั้นยังมีความละเอียดไม่พอครับ  โดยมากมักจะเห็นภาพแตกเป็นพิกเซลอย่างชัดเจน  ยิ่งเมื่อนำไปเทียบกับภาพที่คมชัด  จะสามารถเห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่าได้ครับ ทางโรงพิมพ์ทำใบปลิว Mock Up ขึ้นมา [...]

2021-02-25T00:23:22+07:00ธันวาคม 8th, 2016|

วิธีการตั้งระยะตัดตกเผื่อเจียนสำหรับหนังสือ งานไดคัท สติ๊กเกอร์ กล่อง ด้วย Adobe Illustrator

การตั้งค่าตัดตก (หรือค่า Bleed) จะแตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรมที่ใช้งานนะครับ  โปรแกรมส่วนใหญ่ที่ถูกออกแบบมาเพื่องานสิ่งพิมพ์มักจะมีฟังก์ชั่นสำหรับการ set ค่าตัดตกนี้ไว้อยู่แล้ว  แต่บางโปรแกรมก็ไม่มี  นักออกแบบจะต้องเป็นคนทำเองทั้งหมด  โดยหลัก ๆ โปรแกรมที่เรามักจะใช้งานเพื่อการออกแบบสิ่งพิมพ์ก็มักจะไม่พ้น 3 โปรแกรมหลักจากค่าย Adobe  นั่นก็คือ Illustrator  InDesign และ Photoshop นั่นเองครับ  โดยทั้ง Illustrator และ InDesign ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับการออกแบบสิ่งพิมพ์โดยตรงจะมีฟังก์ชั่นสำหรับ Bleed ไว้อยู่แล้ว  แต่ Photoshop ไม่มี  เพราะเป็นโปรแกรมเอาไว้แต่งภาพมากกว่าที่จะมาทำสิ่งพิมพ์ครับ  ซึ่งในบทความนี้  จะมาว่าถึงวิธีการตั้งระยะตัดตกสำหรับหนังสือ งานไดคัท สติ๊กเกอร์ กล่องบรรจุภัณฑ์  หรืองานที่ซับซ้อนอื่น ๆ [...]

2021-02-25T00:20:12+07:00ธันวาคม 7th, 2016|

ตัดตก เผื่อเจียน (Bleed) คืออะไร สำคัญอย่างไรทำไมต้องมี

โรงพิมพ์พบว่าหลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้าทำงานส่งโรงพิมพ์มานั้น ไม่ได้ทำตัดตกมาให้ด้วย ซึ่งทำให้โรงพิมพ์ต้องแจ้งกลับลูกค้าเพื่อกลับไปแก้ไขอีกรอบ ทำให้เป็นการเสียทั้งแรงและเวลาของลูกค้าไปนะครับ ซึ่งถ้าก่อนจะเริ่มออกแบบงานทุกงาน เราเตรียมตั้งค่าพื้นที่ตัดตกไว้ ก็จะเป็นการประหยัดเวลาไปได้เยอะ ไม่ต้องกลับมาแก้ไขงานทีหลัง เพราะยังไงพื้นที่ตัดตก เผื่อเจียนนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ไม่มีไม่ได้เด็ดขาด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในกระบวนการพิมพ์ก่อนเล็กน้อยว่าจริง ๆ แล้วเวลาโรงพิมพ์ พิมพ์งานออกมาไม่ได้เป็นขนาดสำเร็จรูปนะครับ แต่จะมีขอบกระดาษเพื่อเอาไว้ให้กริปเปอร์เครื่องพิมพ์จับกระดาษเวลาทำงาน รวมไปถึงไกด์สีและข้อมูลอื่น ๆ สำหรับช่างพิมพ์ ดังนั้น พิมพ์งานเสร็จแล้ว จะส่งให้ลูกค้า ก็จะต้องมีการตัดขอบกระดาษส่วนนี้ทิ้งไป การตัดแบบนี้จะทำให้งานที่ออกมา มีขอบเรียบเสมอกัน มีขนาดเท่ากันทุก ๆ เล่มที่พิมพ์ครับ ภาพที่ 1 : ตัวอย่างงานโปสเตอร์ที่กำลังขึ้นแท่นตัด  เพื่อตัดขอบกระดาษส่วนเกินทิ้ง   จะสังเกตเห็นได้ว่า  ขนาดกระดาษก็ไม่ได้เท่ากันทุกแผ่น เมื่อทำการตัดกระดาษแล้ว [...]

2021-02-25T02:09:35+07:00ธันวาคม 4th, 2016|